ADS Header

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ อะโวคาโด


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ อะโวคาโด

          อะโวคาโด เป็นไม้ผลที่อยู่ในวงศ์ (Family) Lauracoae ซึ่งมีพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน เช่น ต้นการบูร Cinnanormum Cauysshora และ ต้นอบเชย Cinnamomum Zeylanicum อะโวคาโดมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ ว่า Persea americana Mill.

          พืชในสกุล Persea มีอยู่ประมาณ 50 ชนิด ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือและใต้ มี 1 ชนิดกำเนิดในหมู่เกาะคานารี่ และมี 3 ชนิด ที่มีถิ่นกำเนิดในบ้านเรา (ประเทศไทย) ได้แก่

1. อินทรา Persea gamblei พบแถบจังหวัดเลย
2. บางบง, บางโบง Persea kursei kosterm พบแถบจังหวัดนครพนม, นครราชสีมา
3. เอียน Persea mombranacea kosterm พบแถบจังหวัดสงขลา



ต้น อะโวคาโด
          อะโวคาโดเป็นไม้ผลที่มีใบสีเขียวตลอดปี จะมีใบร่วงหล่นบ้างก็ตอนใกล้ออกดอก ต้นโตเต็มที่สูง 6-18 เมตร เป็นไม้เนื้ออ่อนกิ่งเปราะทรงต้นแตกต่างกันมาก มีทรงต้นตรง ลำต้นอวบใหญ่จนกระทั้งเป็นพุ้มเตี้ย เปลือกลำต้นผิวรุยระสีน้ำตาลอ่อน มีร่องตามยาวของกิ่ง ใบเรียงสลับกันบนกิ่ง



ใบ อะโวคาโด
          ใบเรียงสลับบนกิ่ง ก้านใบสั้น รูปร่างใบอาจเป็นรูปยาว ด้านขนาดปลายหอกจนถึงรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลมถึงแหลมป้าน ใบเป็นแบบใบเดี่ยวสีเขียวสดใส ด้านบนใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า ยาวตั้งแต่ 8-20 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3-8 เซนติเมตร ใบจะเรียวอยู่หนาแน่นที่ส่วนปลายของกิ่งฝอย


ดอก อะโวคาโด
          ดอกออกเป็นช่อตรงปลายกิ่ง ช่อดอกเป็นแบบแพนนิเคิล (Panicle) มีดอกเป็นจำนวนมากแต่ละดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอมเหลือง ก้านชูดอกสั้น ดอกประกอบด้วยกลีบดอกและกลีบรอง (Herianth) 6 อันเชื่อมติดกันตรงฐานแบ่งออกเป็น 2 วง (Whorls) วงในมีขนาดใหญ่กว่าวงนอกเล็กน้อย มี Stamen 9 อันแบ่งเป็น 2 วง วงใน 3 อัน วงนอก 6 อัน และวงในมีเกสรตัวผู้ที่ไม่ทำงาน (Staminode) 3 อัน ซึ่งตรงฐานมีต่อมน้ำหวานสีส้ม 2 ต่อม Staman มีก้านชูป้อมสั้น ชูอับเกสร 4 อับ ซึ่งจะแตกทางด้านข้าง รังไข่ 1 อัน ต่อด้วยยอด เกสรตัวเมียเรียวสั้นมีขนการบานของดอก Nirody (1022) แบ่งการบานของดอกอะโวคาโดออกเป็น 2 พวกคือ

          1. ดอกบานครั้งแรกในตอนเช้าเกสรตัวเมียพร้อมที่จะรับละอองเกสร แต่เกสรตัวผู้ไม่พร้อมจนกว่าดอกหุบและบานอีกครั้งหนึ่งในตอนบ่ายวันรุ่งขึ้น

          2. (1) ดอกบานครั้งแรกในตอนบ่ายเกสรตัวเมียพร้อมที่จะรับการผสมแต่เกสรตัวผู้จะยังไม่พร้อมจนกว่าดอกจะหุบและบานอีกครั้งหนึ่งในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น Stout (1933) ได้ถ่ายรูปและแขวนป้ายศึกษาการบานของดอกอะโวคาโดในต้นเดียวกันพบว่า ดอกมีการบาน 2 ชุด เช่น ในพวก (ข้อ 1) มีดอกบานครั้งแรกในตอนเช้า ชุดแรกดอกบานในตอนเช้า เกสรตัวเมียพร้อมที่จะรับการผสมและจะหุบตอนเที่ยง ขณะเดียวกันที่ดอกชุดแรกหุบ ชุดที่ 2 จะบานพร้อมกับอับเกสรตัวผู้พร้อมที่จะแตกให้ละอองเกสรชุดที่ดอกบานในตอนเช้าดอกจะบานอีกครั้งหนึ่งในตอนบ่ายวันรุ่งขึ้น ดังนั้นในเวลา 30 ชั่วโมงจึงจะทำให้ Anthesiscycle สมบูรณ์

          ดั้งนั้น (ข้อ 2) ที่ดอกบานครั้งแรกในตอนบ่ายจะมีแบบของการบานต่างจากพวก (ข้อ 1) เพราะดอกบานครั้งแรกในตอนบ่ายและจะบานอีกครั้งหนึ่งในตอนเช้าในวันรุ่งขึ้นหรือวันถัดไป Anthesis cycle จึงใช้เวลา 12-36 ชั่วโมง การผสมข้ามจึงเป็นสิ่งจำเป็นและถ้าอุณหภูมืต่ำและอากาศมีเมฆมากสามารถผสมตัวเองได้ดีโดยเฉพาะพวก (ข้อ 2.) แต่ในการปลูกเป็นการค้าเพื่อจะให้มีการติดผลดี ควรจะปลูกสลับระหว่างพวก (ข้อ 1.) กับพวก (ข้อ 2.)

          พันธุ์อะโวคาโดที่เป็นพวก (ข้อ 1.) ได้แก่ โชเควท (Choquette), คอลลินสัน (Collinson), ลูล่า (Lula), มอนโร (Monroe), ปีเตอร์สัน (Peterson), เทเลอร์ (Taylo), คาโน่ (Kanoe), วอลดิน (Waldin), แฮสล์ (Hass), ปากช่อง 2-4, ปากช่อง 2-6

          พันธุ์อะโวคาโดที่เป็นพวก (ข้อ 2.) ได้แก่ บูช์ 3 (Booth 3), บูช์ 5 (Booth 8), บูช์ 7 (Booth 7), บูช์ 8 (Booth 8), ฮอล (Hall), ลินดา (Linda), โพลล็อค (Pollock), รูเฮิลร์ (Ruehle), กำปง (kampong), เฟอร์เท่ (Fuerte), ปากช่อง 2-8, ปากช่อง 2-5, ปากช่อง 3-3


ผล อะโวคาโด
          ผลของอะโวคาโดเป็นแบบผลเดี่ยวมีรูปผลต่าง ๆ กันอาจมีรูปร่างผลแบบผลไม้ฝรั่งผลรูปไข่ผลกลมหรือยาวคล้ายกับมะเขือยาวก็ได้ แต่ส่วนใหญ่รูปร่างผลอะโวคาโดจะเป็นรูปไข่หรือทรงกลม สีผิวผลมีทั้งสีเขียวผลเลืองหรือม่วง ผิวผลอะโวคาโดอาจจะเป็นแบบผิวเรียบเป็นมันหรือขรุขระเปลือกหนาและเหนี่ยว อะโวคาโดบางพันธุ์เปราะเนื้อผลจะมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม มีเมล็ดขนาดใหญ่อยู่ในส่วนของเนื้อเมล็ดจะมีรูปร่างคล้ายลูกย่างหรือกลมแป้นหรือแหลมมีเปลือกหุ้มเมล็ด 2 ชั้น เมล็ดมีใบเลี้ยง 1 คู่ หนาขนาดใหญ่มีขาวครีมผิวของใบเลี้ยงอาจเรียบหรือขรุขระ ในบ้านเราพบว่าอะโวคาโดแทงช่อดอกตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมพาพันธ์ พวกแทงช่อดอกเร็วได้แก่ พันธุ์เฮิลร์ (Ruehel), โพลล็อก (Pollock), คาโน (Kanoe) ดอกจะบาน เดือนพฤศจิกายนน ถึงเดือนธันวาคม พวกที่ดอกบานปานกลางจะมีดอกบานปลายเดือนธันวาคม ถึง กลางเดือนมกราคม พวกที่แทงช่อดอกบานช้าในช่วงเดือนมกราคม ถึง ปลายเดือนกุมภาพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ลินดา (Linda), บูช์ 7 (Booth 7), และบูช์ 8 (Booth 8)


++++++++++
ที่มา : ผศ.ฉลองชัย แบบประเสริฐ และ มูลนิธิโครงการหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comments system

Disqus Shortname

Post AD