ADS Header

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

วิธีสังเกตและทดสอบว่าผลอะโวคาโด แก่หรือไม่


วิธีสังเกตและทดสอบว่าผลอะโวคาโด แก่หรือไม่

          อะโวคาโดที่ปลูกกันอยู่มีหลายสายพันธุ์ จึงมีฤดูที่ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน แม้ว่าพันธุ์เดียวกันปลูกคนละแห่ง สภาพแวดล้อมอาจทำให้ผลแก่ช้าหรือเร็วต่างกันได้ 1-3 สัปดาห์

วิธีสังเกต และทดสอบว่าผลอะโวคาโดแก่มีหลายวิธี
          1. สังเกตจากลักษณะภายนอกของผล ผลของอะโวคาโดที่แก่นั้นพบว่าลักษณะภายนอกของผลเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนกัน บางพันธุ์ผลแก่จนมีนวนลูบออกได้ บางพันธุ์เปลี่ยนสีผิวผลจากเขียวเป็นเขียวปนเหลือง เช่น พันธุ์รูเฮิลร์ (Ruehle) และพันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson) บางพันธุ์เปลี่ยนจากเขียวเป็นปนม่วง เช่น โพลล็อค (Pollock), ปากช่อง 3-3, ปากช่อง 6-5 เป็นต้น บางพันธุ์เมื่อแก่ผิวผลยังคงเป็นสีเขียวอยู่แต่ขั้วผลเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลือง หรือผลมีจุดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์กัมปง (Kampong), พันธุ์บูช์ 7 (Booth 7), พันธุ์ฮอลล์ (Hall), พันธุ์ลูล่า (Lula) เป็นต้น

          2. ใช้อายุตั้งแต่ติดผลจนเก็บเกี่ยวผลได้ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ทดสอบโดยนำผลที่ใหญ่กว่าผลอื่นเก็บมาบ่มทุกๆสัปดาห์ สัปดาห์ละ 5-10 ผล เพื่อบ่มทดสอบความแก่ของผล ถ้าผลแก่จะบ่มได้สุก ผิวผลที่สุกไม่เหี่ยวย่นหรือแห้ง ชิมรสชาติต้องดี เนื้อไม่เหนียวหรือแข็ง และไม่มีรสขม แสดงว่าผลที่เหลือบนต้นสามารถเก็บได้แล้ว ช่วงผลแก่ได้กล่าวแล้วในเรื่องของพันธุ์



          3. ใช้วัดเปอร์เซนต์ไขมันในผล คณะกรรมการของสมาคมอะโวคาโดในแคลิฟลร์เนีย เคยใช้วัดเปอร์เซนต์ ไขมันในเนื้อของผลอะโวคาโดว่า ถ้าไขมันเกิน 8 % โดยน้ำหนักแสดงว่าผลแก่ แต่เนื่องจากเปอร์เซนต์ไขมันในแต่ละพันธุ์ไม่เท่ากันจึงใช้เป็นมาตรฐานไม่ได้เสมอไป Hodgkin (1939) รายงานผลการทดสอบนาน 16 ปี เกี่ยวกับการชิมกับเปอร์เซนต์ไขมันมากจะมีรสชาติดีกว่าเปอร์เซนต์ไขมันน้อย, Erickson (1970) เปอร์เซนต์ไขมันแตกกต่างกันในแต่ละผลและมีความผันแปรในระหว่างผลเจริญเติบโตในพันธุ์เดียวกัน, Stahl (933 a, 1933 b) เปอร์เซนต์ไขมันและเปอร์เซนต์ของน้ำในผลในระยะผลแก่มีความสูงที่และอัตราการเพิ่มของไขมันการลดของน้ำ จะอยู่ในระดับเดียวกันในระยะผลเจริญเติบโต

          4. เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง ในออสเตรเลียใช้วัดเปอร์เซนต์น้ำหนักแห้งของผลอะโวคาโดได้ผลแก่ต้องมีเปอร์เซนต์น้ำหนักแห้ง 21 %

          5. วัดความถ่างจำเพาะ ในการวัดความถ่วงจำเพาะของผลอะโวคาโดพบว่าไม่แต่ต่างกันมากนักในแต่ละช่วงของความแก่ แต่มีแนวโน้มว่าเมื่อผลแก่จะมีความถ่วงจำเพาะน้อยลงนอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ ที่น่าศึกษาอีก เช่น การวัดเปอร์เซนต์น้ำตาลในระยะผลแก่ต่างๆ กันเป็นต้น


การบ่มอะโวคาโด
          อะโวคาโดเมื่อดิบยังใช้รับประทานเหมือนผลไม้อื่นมิได้เนื่องจากมีแทนนินสูง จะมีรสขมและรับประทานมากๆ จะทำให้ปวดศรีษะจึงต้องบ่มให้สุกเสียก่อน อาจบ่มโดยวางใว้ในอุณหภูมิห้อง หรือบ่มแบบมะม่วงก็ได้ ผลจะสุกภายใน 3-4 วันจนถึง 1 สัปดาห์ หรือบางครั้งอาจมากกว่า 1 สัปดาห์ก็มี ขึ้นอยู่กับความแก่ของผลอะโวคาโด อุณหภูมิที่บ่มและพันธุ์อะโวคาโด พันธุ์เฟอร์เต่ (Puerte) ถ้าเก็บในห้องที่มีเอทธีลีน 10 ส่วนในล้านส่วนของอากาศในห้องเก็บ และอุณหภูมิ 64 องศาฟาเรนไฮด์ นาน 36-48 ชั่วโมง จะทำให้ผลอะโวคาโดสุกสม่ำเสมอภายน 3-4 วัน หลังจากนำออกจากห้อง ผลสุกไม่จำเป็นต้องบริโภคทันที Kosiy-achinda และ Young (1976) รายงานว่าผลที่สุกแล้วสามารถเก็บไว้ได้อย่างดีอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้าเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 36 องศาฟาเรนไฮด์ และ 43 องศาฟาเรนไฮด์ และความชื้นสูงอาจเก็บในตู้เย็นโดยใส่ผลอะโวคาโดในถุงพลาสติกเจาะรูขนาด 3/8 นิ้ว ประมาณ 12 รู ก็ได้ เพราะถ้าจะทำให้มีอากาษ 41-45 องศาฟาเรนไฮด์

          ลักษณะของอะโวคาโดที่ดี ต้องเปลือกหนาเนื้อ ไม่มีเส้นใย มีไขมันสูง อายุหลังเก็บเกี่ยวยาวนาน ทนทานโรค แมลง และเวลาผลแก่ไม่ร่วงหล่นเสียหาย ทำให้ควบคุมปริมาณเก็บเกี่ยวสู่ตลาดได้ง่าย


++++++++++
ที่มา : ผศ.ฉลองชัย แบบประเสริฐ และ มูลนิธิโครงการหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comments system

Disqus Shortname

Post AD