ADS Header

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

โรค ที่สำคัญของ อะโวคาโด


โรค ที่สำคัญของ อะโวคาโด

          โรค เป็นศัตรูที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตของอะโวคาโดไม่ได้ผลตามเป้าหมาย แต่ถ้าได้มีการศึกษาลักษณะของโรคสาเหตุของโรคและวิธีการป้องกันกำจัดจะช่วยให้การผลิตอะโวคาโดได้ผลดีขึ้นใน ที่นี้จึงเขอเรียนให้ทราบถึงโรคที่สำคัญๆ ที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการปลูกอะโวคาโด

โรครากเน่า ใน อะโวคาโด
          เป็นโรคที่สำคัญที่สุดของอะโวคาโดที่ระบาดมากในต่างประเทศและในประเทศไทย นักวิชาการทางโรคพืชก็พบว่ามีระบาดในภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, และภาคตะวันตก สาเหตุเกิดอยู่ในดินเป็นเชื้อเดียวกับที่พบในต่างประเทศเพราะเชื้อนี้อาจติดมากับดินที่ปลูกหรือต้นพันธุ์ที่เป็นโรค หรือต้นพันธุ์ที่เป็นโรค หรือเมล็ดที่เปื้อนดินที่เป็นโรคแล้วนำข้ามาปลูกัน เชื้อรามักจะระบาดมากในดินที่มีความชื้นแฉะ มีการระบายน้ำไม่ดี เชื้ออาจเข้าทางแผลทางราก จากการไถพรวดหรือใช้จอบตัดรากได้ด้วย อาการของต้นเป็นโรค จะมีใบเล็กกว่าปกติ ใบสีเขียวอมเหลือง ไม่เขียวเข้มอย่างปกติ ใบมักเหี่ยวเฉาใบร่วงหล่นกิ่งแห้งตายจากยอดลงราก ต้นที่เป็นโรคจะมีสีดำเน่าแห้ง ผลผลิตลดลง ผลเล็ก การแพร่กระจายจองโรคเนื่องจากเชื้อรานี้อาศัยอยู่ในดิน เชื้อโรคจะแพร่กระจายไปได้โดยการเคลื่อนย้ายดินที่มีโรคจากแหล่งหนึ่งไปยังแหล่งหนึ่ง อาจโดยเอาดินผสมลงในต้นพันธุ์ เมื่อจำหน่ายไปไกลๆ ก็แพร่โรคไปในพื้นดินที่ลาดเอียงน้ำจะแซะพาดินจากที่เป็นโรคไปยังที่ต่ำ หรือกาไถพรวนเชื้ออาจติดผานไปยังอีกต้นหนึ่ง หรือโดยคนหรือสัตว์

          การป้องกันกำจัด ทำการระบายน้ำในแหล่งปลูกไม่ให้มีน้ำขัง ป้องกันไม่ให้เกิดการชะล้างต้นเป็นโรคไปยังแหล่งอื่น ใช้ต้นตอที่ปราศจากโรคมาปลูก โดยฆ่าเชื้อที่ติดมากับเมล็ดด้วยการจุ่มน้ำอุ่นอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 20 นาที ก่อนทำการเพาะปลูก และอบดินด้วยความร้อนหรือไอน้ำเดือนก่อนนำมาเป็นวัสดุเพาะ ส่วนมากทำกันในต่างประเทศ อีกวิธีหนึ่งคือใช้ต้นตอต้านทานโรครากเน่า ในแคริฟอร์เนีย ใช้ต้นพันธุ์ Duke และ G-6 โครงการเกษตรที่สูง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้สั่งเข้ามาขยายเป็นต้นตอในประเทศไทย ถ้าพบต้นเป็นโรคต้องควบคุมการให้น้ำระมัดระวังไม่ให้ดินจากต้นเป็นโรคเคลื่อนย้ายไปต้นอื่น และอย่าให้ดินชื้นแฉะนานเกินไป อบฆ่าเชื้อในดินด้วยวาปาม หรือริโดมิลผสมน้ำรดแหล่งที่เป็นโรคอาจปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช้พืชอาศัยของเชื้อราชนิดนี้ เช่น หันมาปลูกผัก หรือพืชหมุนเวียน ไปซักระยะแล้วค่อยกลับมาปลูกอะโวคาโดใหม่


โรคจุดดำ หรือ โรคแอนเทรดโนส ใน อะโวคาโด
          โรคนี้เกิดจากเชื้อรา เชื้อจะเข้าทำลายตั้งแต่ผลเล็กๆ จนกระทั้งผลเริ่มสุก ในผลดิบจะพบจุดสีน้ำตาลเชื้อจะเจริญเติบโตในขณะที่ความขื้นสูง เชื้อจะเจริญเข้าไปในเนี้อทำให้ผลร่วงหล่นหรือเชื้ออาจไม่เจริญแต่จะไปแสดงอาการนตอนบ่มก็ได้

          การป้องกันกำจัด ในช่วงฤดฝนควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดอาจใช้ไซเนบผสมมาเนป ซึ่งชื่อการค้ามีเอซินแมก, ไดเทนเอ็ม - 45, ไตรแมนโซน อัตราตามที่ฉลากกำหนด หรือจะใช้เบนโนเปิล ชื่อการค้าเบลเลทก็ได้ ใช้ในอัตราตามฉลากกำหนด ฉีดพ่นทุก 10-14 วัน โรคแอนแทรคโนสอาจเกิดกับใบและกิ่งได้เช่นเดียวกัน

โรคแคงเกอร์ ใน อะโวคาโด
          โรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อรา ซึ่งทำให้ผลเน่าพบในประเทศไทยที่ปากช่องด้วย นอกจากนี้ยังพบเชื้อเป็นกับกิ่งและปลายใบด้วย อากาจจะพบจุดสีน้ำตาลดำที่ผิวผลที่บ่มจุดอาจขยายทั่วผิวผล และมักพบว่าเป็นทางด้านก้นผลมากกว่า ต่อมาทำให้เนื้อเน่า ผิวเปลือกบุ๋ม

          การป้องกันกำจัด ใช้ยาตัวเดียวกับ โรคจุดดำ หรือ โรคแอนเทรดโนส ก็ได้

โรคใบจุดจากเชื้อสาหร่าย ใน อะโวคาโด
          โรคชนิดนี้พบมากในฤดูฝน ช่วงเดือนกรกฏาคม ถึง กันยายน จะพบจุดสีน้ำตาลแดงรูปร่างค่อนข้างกลมนูนอยู่บนผิวด้านใบ กระจายอยู่ทั่วไป จะทำให้ลดประสิทธิภาพในการปรุงอาหารของต้นอะโวคโดลง

          การป้องกันกำจัด อาจใช้คอบเปอร์ซัลเฟต อัตราใช้ตามที่ฉลากกำหนด ฉีดพ่นป้องกันแมลงศัตรูอะโวคาโด


++++++++++
ที่มา : ผศ.ฉลองชัย แบบประเสริฐ และ มูลนิธิโครงการหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comments system

Disqus Shortname

Post AD