ADS Header

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

แมลงศัตรู ที่สำคัญของ อะโวคาโด


แมลงศัตรู ที่สำคัญของ อะโวคาโด

ด้วงงวงกัดกินใบ อะโวคาโด
          แมลงชนิดนี้อยู่ในวง Curculionidea มีซื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hypomeces squamoosus .F. อาจเรียกว่า แมลงคอมทอง หรือ แมลงสะแก

โรค ที่สำคัญของ อะโวคาโด


โรค ที่สำคัญของ อะโวคาโด

          โรค เป็นศัตรูที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตของอะโวคาโดไม่ได้ผลตามเป้าหมาย แต่ถ้าได้มีการศึกษาลักษณะของโรคสาเหตุของโรคและวิธีการป้องกันกำจัดจะช่วยให้การผลิตอะโวคาโดได้ผลดีขึ้นใน ที่นี้จึงเขอเรียนให้ทราบถึงโรคที่สำคัญๆ ที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการปลูกอะโวคาโด

ตลาดอะโวคาโดในต่างประเทศ และในประเทศ


ตลาดอะโวคาโดในต่างประเทศ และในประเทศ

          ประเทศที่ปลูกอะโวคาโดนอกจากใช้ผลเพื่อการบริโภคในประเทศ และทำอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์จากไขมันที่สกัดได้แล้ว ตลาดส่วนใหญ่ของอะโวคาโด คือ ตลาดยุโรป โดยเฉพาะในยุโรปตะวันตก ประเทศที่ส่งผลอะโวคาโดเข้าไปจำหน่วยในยุโรป คือ อิสราเอล, เคนยา, โกตติวัวร์

วิธีสังเกตและทดสอบว่าผลอะโวคาโด แก่หรือไม่


วิธีสังเกตและทดสอบว่าผลอะโวคาโด แก่หรือไม่

          อะโวคาโดที่ปลูกกันอยู่มีหลายสายพันธุ์ จึงมีฤดูที่ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน แม้ว่าพันธุ์เดียวกันปลูกคนละแห่ง สภาพแวดล้อมอาจทำให้ผลแก่ช้าหรือเร็วต่างกันได้ 1-3 สัปดาห์

การปลูก และการดูแล อะโวคาโด


การปลูก และการดูแล อะโวคาโด

การเตรียมแปลงปลูก อะโวคาโด
          ปกติเราควรจะเตรียมแปลงที่จะปลูกไว้ล่วงหน้าก่อนปลูกประมาณ 1 ปี โดยทำการเลือกพันธุ์ที่จะปลูกและสั่งกิ่งพันธุ์ไว้ หลังจากนั้นจึงทำการไถพรวนดินในแปลงที่จะทำการปลูก ปักไม้ตามระยะหลุ่มระหว่างแถวระหว่างต้นตามที่ต้องการ แล้วควรปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของหลุมที่จะเตรียมปลูกไม้กันลมในแนวรอบสวน (เนื่องจากอะโวคาโดเป็นไม้เนื้ออ่อนหากเจอพื้นที่ที่มีลมพัดแลงอาจจะทำให้กิ่งพันธุ์เสียหายได้) หรือในแต่ละแนวแปลงย่อยหลังจากนั้นจึงเตรียมหลุมปลูกอะโวคาโด ปลุมปลูกอะโวคาโดก็เตรียมคล้ายๆกับการเตรียมหลุมปลูกไม้ผลทั่วๆ ไป หลุมควรกว้าง 80x80x80 เซนติเมตร หาปุ๋ยคอกที่แห้งดี 1-2 บุ้งกี่ ใส่คลุกเคล้ากับดินที่ขุดมาใส่ลงไปในหลุมเตรียมไม้ปักผูกยึดต้นกันลมโยก เตรียมวัสดุคลุมผิวหน้าดินบริเวณหลุมปลูก อาจจะใช้ฟาง, หญ้าแห้ง, แกลบ, ขี้เลื้อย, เปลือกถัว ฯลฯ มาคลุม
ระยะปลูก อะโวคาโด

การดูแลรักษา กิ่งพันธุ์อะโวคาโด


การดูแลรักษา กิ่งพันธุ์อะโวคาโด

          ต้นที่ต่อกิ่งและติดตาได้ผลแล้วจะต้องเอาใจใส่ป้องกันไม่ให้ต้นขาดน้ำ ควรรดน้ำสม่ำเสมอแต่อย่าให้แฉะ ในระยะนี้ควรจะต้องฉีดยาป้องกันโรคราและแมลงให้บ้าง โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีฝนตกชุก ขณะที่มีความชื้นสูง

การต่อกิ่งอะโวคาโด


การต่อกิ่งอะโวคาโด

          การต่อกิงอะโวคาโดที่ประเทศไทย ถ้าต้นตอขนาดเล็กเราจะใช้วิธีการต่อกิ่งแบบเสียบข้าง แบบไซด์วีเนียแปลง (Modified Side-Veneer Grafting) ถ้าต้นตอขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางเกินครึ่งนิ้ว จะนิยมใช้การต่อกิ่งแบบเสียบเปลือก (Bark Grafting) ซึ่งทั้ง 2 วิธี ได้ผลถึง 97 %

การขยายพันธุ์อะโวคาโด โดยการติดตา อะโวคาโดพันธุ์ดี


การขยายพันธุ์อะโวคาโด โดยการติดตา อะโวคาโดพันธุ์ดี

          การติดตากมีหลายวิธี ซึ่งวิธีที่นิยมในแคลิฟลอเนียคือการติดตาแบบตัวที (T-Budding) แต่ต้องใช้กับต้นต่อขนาดใหญ่และเปลือกต้นต่อล่อนได้ ในบ้านเราทดสอบที่สถานีวิจัยปากช่อง พบว่าการติดแบบเพลท (Plate Budding) ได้ผลดีกว่าติดตาแบบตัวที การติดตาแบบชีปแปลง (Modified Chip Budding) ใช้ได้ทุกฤดูแม้ว่าต้นตอเปลือกไม่ล่อน

การขยายพันธุ์อะโวคาโด โดยการเพาะเมล็ด


การขยายพันธุ์อะโวคาโด โดยการเพาะเมล็ด

          การขยายพันธุ์อะโวคาโดด้วยเมล็ดนี้สามารถเพาะเมล็ดลงแปลงเพาะ หรือเพาะใส่กระบะเพาะ หรือใส่ถุงใส่กระถางเพาะเลยก็ได้ ส่วนการเพาะอะโวคาโด ด้วยเมล็ด จะมีวิธีดังต่อไปนี้

การขยายพันธุ์อะโวคาโด


การขยายพันธุ์อะโวคาโด

          อะโวคาโดสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี มีทั้งการเพราะเมล็ด, ติดตา, ต่อกิ่ง ฯลฯ เป็นต้น การขยายพันธุ์อะโวคาโดโดยการเพาะเมล็ดไม่ค่อยนิยมทำกัน เนื่องจากต้นที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดนั้นมักให้ผลช้า ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-7 ปี จึงจะให้ผลหรือบางครั้งอาจถึง 14 ปี นอกจากนี้ทำให้ได้ขนาดผลรูปร่างผล ผิวผล ลักษณะเนื้อ ตลอดจนคุณภาพในการเก็บรักษา หรือคุณค่าทางอาหารเปลี่ยนแปลงได้

พันธุ์อะโวคาโด ที่ปลูกเป็นการค้า มีพันธุ์อะไรบ้าง


พันธุ์อะโวคาโด ที่ปลูกเป็นการค้า มีพันธุ์อะไรบ้าง

อะโวคาโดพันธุ์ ลูล่า (Lula)
          เกิดจากเมล็ดเผ่ากัวเตมาลัน (ไม่รู้พ่อพันธุ์) รูปร่างผลคล้ายหลอดไฟ ผลขนาดกลาง ผิวผลเกือบเรียบ น้ำหนักผล 300-400 กรัม เนื้อสีเหลืองปนเขียว เมล็ดขนาดใหญ่ติดอยู่ในช่อง เมล็ดแน่น ไขมัน 6-15 % ช่วงเก็บผล กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนมกราคม หากวิเคราะในประเทศไทย ไขมัน 11 % ติดผลดกเว้นปี

ความต้องการ ดิน ฟ้า อากาศ ของ อะโวคาโด


ความต้องการ ดิน ฟ้า อากาศ ของ อะโวคาโด

          อะโวคาโด เป็นพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน ที่มีความต้องการ ดิน ฟ้า อากาศ ดังต่อไปนี้

ดิน ที่เหมาะสมกับ อะโวคาโด
          ไม้ผลชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีนดินหลายประเภท เช่น เจริญได้งดงามในดินทรายตอนใต้ของฟลอริด้า ดินร่วนภูเขาไฟที่กัวเตมาลาและเม็กซิโก ดินเหนียวแต่ที่คิวบาในดินเหนียวหนักก็ปลูกอะโวคาโดได้แต่ต้องมีการระบายน้ำที่เพียงพอ ดินที่เหมาะสมแก่การปลูกอะโวคาโดต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำดี ดินอุดมสมบูรณ์และเนื้อดินลึก ดินในที่ราบลุ่มอย่างภาคกลางบ้านเราซึ่งมีน้ำต่ำกว่าผิวดินไม่ถึงหนึ่งเมตร แม้ยกร่องปลูกอะโวคาโดต้นอะโวคาโดก็มีอายุไม่ยืน เนื่องจากมันไม่ทนต่อน้ำท่วมนอกจากนี้การที่มีความชื้นสูงเกินต้องการทำให้การถ่ายเทอากาศในดินเลว ย่อมเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรครากเน่าได้ง่าย

เผ่า อะโวคาโด ทางพืชสวน


เผ่า อะโวคาโด ทางพืชสวน

          เผ่า อะโวคาโด โดยทั่วไปแบ่งออกได้ 3 เผ่า คือ เผ่าเตมาลัน (Gautamalan), เผ่าแม็กซิกัน (Maxican), และเผ่าเวสอินเดียน (West Indian) ซึ่งแต่ละเผ่ามีลักษณะดังนี้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ อะโวคาโด


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ อะโวคาโด

          อะโวคาโด เป็นไม้ผลที่อยู่ในวงศ์ (Family) Lauracoae ซึ่งมีพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน เช่น ต้นการบูร Cinnanormum Cauysshora และ ต้นอบเชย Cinnamomum Zeylanicum อะโวคาโดมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ ว่า Persea americana Mill.

การนำอะโวคาโด มาปลูกในประเทศไทย


การนำอะโวคาโด มาปลูกในประเทศไทย

          สำหรับในประเทศไทย อะโวคาโดปลูกกันมานานไม่ต่ำกว่า 80 ปี มาแล้ว โดยมีมิชชันนารีชาวอเมริกานำเอาอะโวคาโดเข้ามาปลูกที่จังหวัดน่าน ต้นกิ่งเดิมได้ตายไปแล้ว คงเหลือแต่ต้นที่ปลูกจากเมล็ดไม่ทราบชื่อพันธุ์ พ.ศ. 2508 ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในความร่วมมือของมหาวิทยาลัยฮาวายได้นำอะโวคาโดพันธุ์ Xanoe, Ruehle, Monge ไปปลูกไว้ที่สถานีฝึกนิสิตปากช่อง (สถานีวิจจัยปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา)

ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจาย อะโวคาโด


ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจาย อะโวคาโด

          ต้นอะโวคาโด เป็นพืชพื้นเมืองในทวีปอเมริกา แถบร้อนพืชชนิดนี้รู้จักกันมากขึ้นในระยะหลังของศตวรรษที่ 16 พวกสเปนพบอะโวคาโดปลูกกันแพร่หลายตั้งแต่เม็กซิโกลงไปจนถึงเปรู และเวเนซูเอล่า การแพร่กระจายของอะโวคาโดจากแหล่งกำเนิดไปยังแหล่งอื่น ๆ ช้ามากมีการนำเข้าไปปลูกในจาไมก้า เมื่อ ค.ศ. 1650 ต่อมาในตอนปลายศตวรรษ ที่ 17 หรือ ต้นศตวรรษ ที่ 18 และเข้าสู่ฮาวายอีกไม่นานหลังจาก ค.ศ. 1800

อะโวคาโด - Avocado


อะโวคาโด - Avocado

          อะโวคาโดเป็นไม้ผลที่รู้จักบริโภคกันมานานในอเมริกา และยูโรป เนื่องจากอะโวคาโดมีคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าผลไม้อื่น ๆ โดยชาวต่างชาติใช้เนื้ออะโวกาโดสุกกินในชีวิตประจำวันโดยการประกอบอาหาร เช่น ใส่ในสลัด รับปะทานเปล่า ๆ หรือรับประทานกับไอสกรีม น้ำตาล ทำมิลค์เชคบทใส่นมน้ำตาลข้น สกัดเอาน้ำมันจากเนื้อไปทำเครื่องสำอางค์แทนน้ำมันมะกอก บ้านเราอาจจะรับประทานด้วยนมหรือจิ้มน้ำพริกกะปิรับประทานแบบผักรับประทานกนน้ำกะทิแบบแตงไทย

Comments system

Disqus Shortname

Post AD