ADS Header

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

การขยายพันธุ์อะโวคาโด


การขยายพันธุ์อะโวคาโด

          อะโวคาโดสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี มีทั้งการเพราะเมล็ด, ติดตา, ต่อกิ่ง ฯลฯ เป็นต้น การขยายพันธุ์อะโวคาโดโดยการเพาะเมล็ดไม่ค่อยนิยมทำกัน เนื่องจากต้นที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดนั้นมักให้ผลช้า ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-7 ปี จึงจะให้ผลหรือบางครั้งอาจถึง 14 ปี นอกจากนี้ทำให้ได้ขนาดผลรูปร่างผล ผิวผล ลักษณะเนื้อ ตลอดจนคุณภาพในการเก็บรักษา หรือคุณค่าทางอาหารเปลี่ยนแปลงได้

          การเพาะเมล็ดจึงทำกันโดยมีจุดประสงค์ในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ หรือเพาะเมล็ดเพื่อช้เป็นต้นตอในการติดตาหรือต่อกิ่งพันธุ์ ที่ใช้เป็นต้นตอในการติดตาหรือต่อกิ่งส่วนมากในแคลิฟลอเนียใช้กันมาก ได้แก่ พันธุ์โทปาโทปา (Topa Topa) พันธุ์แม็กซิโคล่า (Mexicola) ซึ่งเป็นเผ่าแม็กซิกัน เนื่องจากมีความทนทานต่อความเย็นมากกว่าเผ่ากัวเตมาลัน นอกจากนี้ยังทนทานต่อดินกรด, โรคแคงเกอร์, และโรคเวอร์ติชีเลี่ยม กว่าต้นตอเผ่ากัวเตมาลัน แต่การเจริญเติบโตช้ากว่า


ต้นต่อพันธุ์ดุก (Duke) และ จี 6 (G 6)
          ค่อนข้างทนทานต่อโรครากเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทรา (Phytophtaora Cinnamomi)

ต้นต่อพันธุ์ Fuchs
          สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกลือที่มีคอลไรด์ และต้นไม้แสดงอาการผิดปกติเม้ว่ารดด้วยน้ำที่มีเกลือ 380-400 p.p.m. นอกจากนี้ยังพบว่าปราศจากโรคไวรัส ต้นต่อพันธุ์นี้เป็นลูกผสม กัวเตมาลันกับเวสอินเดียน


          เมล็ดอะโวคาโดบางครั้งสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสและโรครากเน่าติดมากับเมล็ดได้ ดังนั้นเมล็ดที่จะนำมาเป็นต้นตอต้องปราศจากโรคด้วย ผลที่ร่วงหล่นอยู่ในดินที่มีเชื้อโรครากเน่าอาจทำให้เชื้อติดเมล็ดมาได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการนำเมล็ดจากผลที่ร่วงหล่นมาเพาะ ควรใช้เมล็ดที่ได้จากผลที่เก็บจากต้นเท่านั้น เมล็ดที่แกะออกจากผลต้องรีบเพาะอย่าปล่อยให้ลมโกรก จะทำให้เมล็ดแห้งและเสียความงอก ถ้าเพาะไม่ทันอาจเก็บรักษาไว้ในถุงพลาสติกผูกปากให้แน่นเพื่อช่่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่เมล็ด ถ้าใส่เมล็ดไว้ในมอสหรือขุยมะพร้าวชุบน้ำเก็บไนตู้เย็นอุณหภูมิ 40-44 องศาฟาเรนไฮด์ จะเก็บไว้ได้นานหลายเดือน

***การขยายพันธุ์อะโวคาโดที่ไม่ได้ผล
          การขยายพันธุ์อะโวคาโดที่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพึงพอใจมากนักคือ "การตอนกิ่ง" เนื่องจากกิ่งตอนออกรากเพียง 1-2 ราก และเมื่อตัดมาชำมักตายเกือบหมด ถึงแม้จะใช้โอร์โมนเร่งรากช่วย ก็มีเปอร์เซนต์การออกรากต่ำมากจึงไม่เป็นที่นิยม

          ซึ่งในบทความต่อไปจะมาพูดถึงการขยายพันธุ์อะโวคาโด ในวิธีต่างๆ

ที่มา : ผศ.ฉลองชัย แบบประเสริฐ และ มูลนิธิโครงการหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comments system

Disqus Shortname

Post AD